วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง
(Product and Package Visual Analysis)


โดยนางสาวกรรณิกา ใจกลาง
27 มกราคม 2558

ก่อนการที่จะดำเนินงานออกแบบผลิตภัณฑ์และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้แก่สินค้ายี่ห้อ หรือผู้ผลิตนั้นๆผู้ออกแบบหรือนักพัฒนาควรต้องมีการวางแผนการและศึกษาข้อมูลเบื้องต้นอย่างเป็นระบบอาจจะเป็นการวางแผนและใช้สื่อบันทึกการดำเนินงานเอาไว้อย่างคร่าวๆ ซึ่งอาจเป็นการเขียนแผนผังทางความคิด (Mind Mapping) แสดงหัวข้อไว้บนแผ่นกระดาน (Mood Board)เขียนหรือพิมพ์ไว้ในแผนปฏิบัติการผ่านทางสมุด(Diary)หรือปฏิทินงาน(Calendar)ตามระยะเวลา(Design Plan or Timeline Operation Schedules) และสรุปผลออกมาได้จริงเช่นการที่ควรต้องเริ่มต้นด้วยการวางกรอบแนวคิดหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าการสร้างกรอบการดำเนินงาน (Frame Work or Over View)เอาไว้เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางภาพกว้างๆ ที่สามารถสื่อให้เห็นแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ


กรอบแนวคิดในการดำเนินงานออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์

Untitled-1.jpg
ภาพที่ 1. ภาพแสดงการวางแผนกรอบแนวคิดของการดำเนินงานอย่างย่อโดยใช้ หลักการ 3 ส. เพียง 3ขั้นตอนเพื่อให้เห็นภาพรวมหรือเป็นจุดเริ่มต้นของการที่จะดำเนินการคิดวางแผนงาน เกี่ยวกับการอ้งอิงถึงข้อมูลที่ได้ศึกษาเรียนรู้ทางทฤษฎีหลักการวิธีการและแผนปฏิบัติการในเชิงลึก
การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมองเห็นนั้นเป็นวิธีการศึกษาวิเคราะห์-วิจัยข้อมูลเบื้องต้นที่นักวิจัยด้านการออกแบบสร้างสรรค์นั้นต้องใช้ในการเริ่มต้นทำงานเสมอโดยวิธีและการสังเกตุคุณลักษณะรูปลักษณ์ที่ปรากฏภายนอก ของสิ่งต่างๆเหล่านั้น
โดยตรงโดยไม่ใช้เครื่องมือหรือเครื่องช่วยใดๆมาประกอบและส่วนการประมวลสรุปในสิ่งที่ได้รับรู้ได้มองเห็นซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นการตรวจสอบหรือการบ่งชี้ถึงคุณลักษณะของสิ่งที่มองเห็น(VisualInspection)ได้รับรู้(Percieved)และแปลความหมาย(Translated andTransfered)ในสิ่งที่รู้ที่เห็นออกมาได้เช่นใดวิธีการใดหรือด้วยสื่อใดนั่นเอง
 วิธีการที่จะตรวจสอบในสิ่งที่ต้องการหาคำตอบให้ได้นั้นนักออกแบบก็ควรต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆที่ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์มา เพื่อที่จะประมวลสรุปผลออกมาให้ได้อย่างมี หลักการและเหตุผล ให้เป็นที่น่าเชื่อถือทั้งนี้เพราะนักออกแบบ มีวิถีและวิธีการทำงาน ที่แตกต่างไปจากแนวทางการทำงา นของศิลปิน ในขอบข่ายทางศิลปะบริสุทธิ์ (Pure Art)นั่นก็คือการศึกษาวิจัย และค้นหาแนวทาง ที่เป็นไป ได้จริง(Feasibility Study) หรือยึดกฏแห่งการใช้งานจริงภายในตัวผลงาน (Physical Fact and Workability or Functionality Study) ให้ได้ ก่อนการยึดมั่นในหลักการทางความสวยความงาม ที่ปรากฏ เห็น เป็นรูปลักษณ์ภายนอก อันเป็น ประเด็นรองตามหลักการของการสร้างสรรค์ผลงาน ประเภท ประยุกต์ศิลป์(Applied Arts) ดังนั้นในกระบวนการทำงานของนักออกแบบ จึงควรต้องแสดงหลักฐาน หรือต้องมีสื่อแสดง ให้เห็นซึ่ง วิธีการคิดวิเคราะห์ วิธีการแก้ปัญหา การใช้องค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงทักษะการใช้เครืองมือและอุปกรณ์ช่วยการผลิต และเพื่อการนำเสนอผลงาน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในกระบวนการทำงานนั้น ก็ต้องใช้เพื่อสื่อสารให้ผู้ร่วมงานอื่นๆ (Co-Producer) ได้ร่วม คิดร่วมสร้างความเข้าใจในเบื้องต้น รวมถึงการสื่อสารไปให้ถึงผู้ใช้งานปลายทาง(End Users) ทั้งหลายนั้น นักออกแบบก็ต้องคิดวางแผน และคำนึงถึงเป็นการล่วงหน้าเอาไว้ด้วยเช่นกัน


ภาพที่ 2.ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มองเห็นของโลชันบำรุงผิวน้ำมันมะพร้าวผสมใบบัวบก ว่านหางจระเข้
            หมายเลข 1 คือ โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ ในที่นี้คือวัสดุที่เป็นหลอดพลาสิตกใส
หมายเลข 2 คือ ตัวผลิตภัณฑ์
หมายเลข 3 คือ เทคนิคการปิดโครงสร้าง Seal or Encloseure Technic
หมายเลข 4 คือ แผ่นสลากปิดบนตัวโครงสร้างบรรจุภัณฑ์เพื่อการสื่อสาร
หมายเลข 5 คือ ข้อความ-กราฟิกแสดงชื่อยี่ห้อสินค้า ( Logotype)
หมายเลข 6 คือ สื่อรูป-ภาพกราฟิก-ประกอบการสื่อความหมายร่วม
หมายเลข 7 คือ คำโฆษณา- ความดีของสินค้า-คำเชิญชวน
หมายเลข 8 คือ ข้อมูลแจ้งส่วนประกอบสำคัญของสินค้า
หมายเลข 9 คือ ข้อความแจ้งสถานที่ผลิต
หมายเลข 10 คือ สัญลักษณ์การรับรองความปลอดภัย-มาตรฐานการผลิต
            หมายเลข 11 คือข้อความแจ้ง-เลขที่แจ้งสินค้า

การศึกษาสินค้าคู่แข่ง
สินค้าของผู้ประกอบการ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น